วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ

                                                   วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
                                                             ประวัติความเป็นมา         



   
             ที่ตั้งวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ  489 ถ.ประชาพัฒนา แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่จัดตั้งขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการสังคม ในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มี คุณธรรม คุณภาพ และทัศนคติที่ดีต่อธรรมชาติและเพื่อนมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สังคมไทย และประเทศไทย  วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิมุ่งมั่นที่จะสร้างความเป็นเลิศทางความคิด (ปัญญาและความดี) ทางวิชาการ (ความรู้ สู่อาชีพ) และการดำรงชีวิต (การปฏิบัติสู่ความสุข) ควบคู่กันไปทั้งสามด้าน เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาแห่งนี้เป็นมนุษย์ทีสมบูรณ์ด้วยคุณภาพแห่งชีวิต  
โทรศัพท์  : 0 2172 9623 - 6     โทรสาร   : 0 2172 9620
      
                                                                      คณะผู้บริหาร

                                            ดร.วิศิษฐ์  แสงหิรัญ        อธิการบดี
                                                                       
<>            อาจารย์ฉัตรชัย  แสงหิรัญ              รองอธิการฝ่ายบริหาร
<> 
อาจารย์ณัฐกาญจน์  สุวรรณธารา      รองอธิการฝ่ายวิชาการ

อาจารย์ศิริ  ทรัพย์สมบูรณ์
 รองอธิการฝ่ายบริหาร
<>
 


วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนวคิดของสกินเนอร์

 









รูปภาพของนักทฤษฎีสกินเนอร์                                                            นางสาวอินธกานต์ วงศ์หนายโกฏ
    ทฤษฎีการศึกษาของสกินเนอร์         Operant Conditioning) หรือพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ของ B.F. Skinner จัดว่าเป็นทฤษฎีที่เสริมต่อจากทฤษฎีจิตวิทยา S-R หรือทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์และทฤษฎีพฤติกรรมของ Watson โดยรวมเอาแนวคิดของทฤษฎีทั้งสองเข้าด้วยกัน กล่าวคือ เขามีความเห็นว่ามนุษย์เรานั้นมีลักษณะที่เป็นกลางและอยู่นิ่งเฉย (Man is neutral and passive) ดังนั้น พฤติกรรมทั้งหลายของมนุษย์จึงสามารถอธิบายได้ด้วยเรื่องของกลไก (Mechanistic) ในการควบคุมพฤติกรรม จากการทดลองสกินเนอร์ จึงได้เกิดเป็นทฤษฎีทางจิตวิทยาที่เขาเรียกว่า ทฤษฎีเงื่อนไขแบบอาการกระทำ (Operant Conditioning) พอสรุปได้ดังนี้ คือ "การกระทำใด ๆ ถ้าได้รับการเร้าด้วยการเสริมแรง อัตราความเข้มแข็งของการตอบสนองจะมีโอกาสสูงขึ้น" อย่างไรก็ตาม การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบ ตลอดจนตัวเสริมแรงปฐมภูมิและทุติยภูมิ (Primary and Secondary Reinforces) ดังนั้นพฤติกรรมในด้านการตอบสนองต่อตัวเสริมแรง จึงมีแตกต่างกันออกไปตามแต่ชนิดของการเสริมแรง
      ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบอาการกระทำ ( 




วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ส่งงานGDT407 ครั้งที่1



                                                       นางสาวอินธกานต์  วงศ์หนายโกฏ 5303014066  เลขที่ 63
สรุปการเรียนวิชา GDT407

        ในการเรียนชั่วโมงแรก เริ่มตั้งแต่ชั่วโมงแรกของการเรียน อยู่ในห้องคอมพิวเตอร์ชั้น 4 ของวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ ได้เรียนรู้คือ
   การเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีและนวัตรกรรมการศึกษาและความหมายของการเรียนวิชาดังกล่าว เทคโนโลยีประกอบด้วยอะไรบ้าง ความหมายว่าอะไร เป้าหมายของการเรียน
  ความหมายของเทคโนโลยี
  เทคโนโลยีเป็นการนำเอาวิธีการ แนวคิดใหม่ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้อย่างมีระบบในการพัฒนาและปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จากการขยายตัวทางวิทยาการทำให้เทคโนโลยีในการประดิษฐ์สิ่งของต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่มวลมนุษย์มากที่สุด
  ส่วนประกอบของเทคโนโลยี 3 องค์ประกอบคือ
1.ข้อมูล input สิ่งที่บรรจุเข้าไป
2.กระบวนการ process การลงมือทำ แก้ไข วิเคราะห์เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์
3.ผลลัพธ์ output ผลที่ได้จากการแก้ไขปัญหาและทำการประเมิน
        ประโยชน์ของการเรียนเทคโนโลยี
ด้านประสิทธิภาพ เป้าหมายที่เราตั้งไว้เพื่อบรรลุเป้าหมาย หรือที่เราวาดไว้เพื่อจะทำให้สำเร็จผล
ด้านประสิทธิผล การตั้งเกณฑ์ไว้เพื่อให้ผลนั้นสำเร็จ
ประหยัด ทุกอย่างด้านเวลา เงินทอง และทรัพยากร แต่ประโยชน์ที่ได้ต้องทำให้การลงทุนต่ำแต่ผลกำไรหรือราคาสินค้าที่ผลิตสูง
ปลอดภัย เป็นระบบที่ต้องมีความปลอดภัยทั้งทางร่างการและชีวิต
        ความหมายของนวัตกรรม
     การนำเอาสิ่งที่มีอยู่มาใช้ใหม่โดยการ รียูส หรือเอาสิ่งที่ไม่ใช้นำกลับมาทำใหม่เพื่อประโยชน์ของการใช้งานของเรา โดยอาศัยทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับมาเพิ่มพูนประสิทธิภาพของการเรียนรู้
1. เป็นความคิดและกระบวนการใหม่ทั้งหมดมาดัแปลงจากสิ่งที่เคยมีมาปรับปรุงใหม่
2.ความคิดหรือการกระทำนั้นมีการพิสูจน์และทดลองเพื่อผลสัมฤทธิ์ของงาน
3.การนำมาใช้ใหม่โดยองค์ประกอบทั้ง 3 อย่าง
4.ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของงาน
                                การทำข้อสอบ3 ข้อ
เทคโนโลยีคือ
นวัตกรรมคือ
ข้อแตกต่างของเทคโนโลยี กับนวัตกรรม




 ชั่วโมงในการเรียนรู้ ช่วงบ่าย
   การสร้างบล็อคส่วนตัวเพื่อที่จะการส่งงานให้อาจารย์ ไม่ต้องเปลืองกระดาษ ไม่ต้องใช้เอกสาร เราสามารถส่งงานทาง blogger ของเราเอง
       วิธีการสร้าง blogger โดยใช้ชื่อว่า inthakantao@gmail.com
ปัญหาของการเรียนในวันนี้
     1. การสมัคร gmail เกิดความสับสนและเครื่อข่ายของการสมัครเพราะเกิดการแย่งกันในกลุ่ม
     2. ความพร้อมของการเรียน คอมพิวเตอร์ไม่พร้อม ระบบติดขัด อากาศในห้อง
     3. เวลาในการเรียนรู้ ยังไม่ค่อยพร้อมเพราะเวลาเรียนเร็วมากตามไม่ค่อยทันอาจทำให้เสียเวลา
   
http//inthakantao.blogspot.com